เมนู

1. สุตมยญาณกถา
อรรถกถาวิสัชนุทเทส


1] บัดนี้ ท่านปรารภนิทเทสวารมีอาทิว่า กถํ โสตาวธา-
เน ปญฺญา สุตมเย ญาณํ - ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมา
แล้ว ชื่อว่า สุตมยญาณ คืออย่างไร ?
ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรม
ทั้งหลายที่รวบรวมไว้ด้วยอุทเทสตามที่ได้ยกขึ้นแสดงแล้วเป็นประเภท ๆ
ไป.
ในนิทเทสวารนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า โสตาวธาเน
ปญฺญา, สุตมเย ญาณํ - ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
ชื่อว่า สุตมยญาณ
ดังนี้ คำนี้เป็นคำถามเพื่อจะกล่าวแก้ด้วยตนเองว่า
สุตมยญาณนั้นเป็นอย่างไร ? จริงอยู่ ปุจฉา - คำถามมี 5 อย่าง คือ
1. อทิฏฺฐโชตนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะส่องความที่ยังไม่เห็น
2. ทิฏฺฐสํสนฺทนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว
3. วิมติจฺเฉทนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะตัดความสงสัย
4. อนุมติปุจฺฉา - ถามเพื่อจะสอบสวนความรู้
5. กเถตุกมฺยตาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะตอบเอง.
ความต่างกันแห่งปุจฉา 5 อย่างนั้นมีดังต่อไปนี้
อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน* ? คือ บุคคลย่อมถามปัญหา
เพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อจะเปรียบเทียบ เพื่อจะใคร่ครวญ เพื่อจะ
1. ขุ. มหา. 29/700.

แจ่มแจ้ง เพื่อจะเปิดเผย ซึ่งลักษณะตามปกติอันเป็นนัยไม่เคยรู้ ยังไม่
เคยเห็น ยังไม่เคยเปรียบเทียบ ยังไม่เคยใคร่ครวญ ยังไม่เคยแจ่มแจ้ง
ยังไม่เคยเปิดเผย, ปุจฉานี้ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน1? คือ บุคคลนั้นย่อมถาม
ปัญหาถึงลักษณะตามปกติที่ตนเคยรู้แล้ว เคยเห็นแล้ว เคยเปรียบ-
เทียบแล้ว เคยใคร่ครวญแล้ว เคยแจ่มแจ้งแล้ว เคยเปิดเผยแล้ว
เพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น ปุจฉานี้ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนา
ปุจฉา.
วิมติจเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน2? คือ บุคคลนั้นตามปกติเป็น
ผู้แล่นไปสู่ความสงสัย เป็นผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เป็นผู้แล่นไป
สู่ความเห็นอันเป็นเหมือนทาง 2 แพร่ง ย่อมถามปัญหาเพื่อตัดความ
สงสัยว่า อย่างนั้นหรือหนอ ? หรือมิใช่อย่างนั้น ? อะไรหนอ ?
อย่างไรหนอแลดังนี้ นี้ชื่อว่า วิมติจเฉทนาปุจฉา.
อนุมติปุจฉา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาตามความ
รู้ของภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญรูปนั้นว่า
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า,
ก็ตรัสถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ? เมื่อ
1.-2. ขุ. มหา. 29/700.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นทุกข์พระเจ้าข้า, ก็ตรัสถามต่อไปอีกว่า
สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา, ควรละ
หรือที่จะยึดถือคือเห็นตามว่า นั่นเป็นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็น
อัตตา ตัวตนของเรา ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่สมควร
เลยพระเจ้าข้า1 ดังนี้ ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.
กเถตุกัมยาปุจฉา เป็นไฉน ? คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ถามแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมีพระประสงค์จะแก้เองว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลายสติปัฎฐานเหล่านี้มี 4. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน2 ?
ดังนี้ ชื่อว่า
กเถตุกัมยตาปุจฉา. ในบรรดาปุจฉาทั้ง 5 เหล่านั้น ปุจฉานี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่า เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉาของพระสารีบุตรเถระ.
บัดนี้ ท่านได้กล่าววิสัชนุทเทส - อุทเทสที่ตั้งไว้เพื่อจะแก้ 16
ประการมีอาทิว่า ปัญญาเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ
เครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
ดังนี้ ชื่อว่า สุตมยญาณ ตามกเถตุกัมยตาปุจฉาที่ยกขึ้นตั้งไว้ในเบื้องต้น.
บรรดาคำเหล่านี้ ปาฐเสสะ คือ พระบาลีว่า เทสยนฺตสฺส-
ของผู้แสดงอยู่
ของคำว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา - ธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง ดังนี้หายไป.
อธิบายว่า สุตะความรู้ที่ทรงจำธรรม
1. วิ. มหา 4/21. 2. สํ. มหา. 19/776.

ที่ได้ฟังแล้ว ชื่อว่า โสตาวธาน ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในก่อนของ
พระศาสดาหรือของเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ควรเคารพ แสดงอยู่ซึ่งธรรมว่า
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ อันพระโยคีบุคคลควรรู้ยิ่ง ดังนี้, ปัญญาเป็น
เครื่องรู้โสตาวธานนั้น คือปัญญาเป็นเครื่องรู้สุตะนั้น ได้แก่ ปัญญา
อันทำการกำหนดรู้ซึ่งปริยาย ชื่อว่า สุตมยญาณ.
คำว่า ตํปชานนา - เป็นเครื่องรู้ซึ่งสุตะนั้น เป็นฉัฏฐีตัป-
ปุริสสมาส วิเคราะห์ว่า ตสฺส ปชานนา - เป็นเครื่องรู้ซึ่งสุตะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เป็นทุติยาวิภัตติด้วยสามารถแห่งวิภัตติวิปลาสว่า ตํ ปชา-
นนา
ดังนี้.
ก็คำว่า อภิญฺเญยฺยา - ควรรู้ยิ่ง ความว่า ควรรู้ด้วยสามารถ
แห่งการรู้ซึ่งสภาวลักษณะ คือด้วยอาการแห่งปัญญาในมหากุศลญาณ
สัมปยุตจิต.
คำว่า ปริญฺเญยฺยา - ควรกำหนดรู้ ความว่า ควรรอบรู้ด้วย
สามารถแห่งการรู้ซึ่งสามัญลักษณะ และด้วยสามารถแห่งการยังกิจให้
สำเร็จ.
คำว่า ภาเวตพฺพา - ควรอบรม ความว่า ควรเจริญ.
คำว่า สจฺฉิกาตพฺพา - ควรทำให้แจ้ง ความว่า ควรทำให้
ประจักษ์. ก็การทำให้แจ้งมี 2 อย่างคือ การทำให้แจ้งด้วยการได้

เฉพาะ 1 การทำให้แจ้งด้วยการทำให้เป็นอารมณ์ 1.
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าฝ่ายเสื่อม กล่าวคือเป็นไป
ในฝ่ายแห่งความเสื่อมด้วยสามารถแห่งการกำเริบขึ้นแห่งธรรมอันเป็น
ข้าศึก ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า หานภาคิยา - อัน
เป็นส่วนแห่งความเสื่อม.

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าในฝ่ายดำรงอยู่ กล่าวคือตั้ง
อยู่ ด้วยสามารถแห่งการตั้งมั่นแห่งสติตามสมควรแก่ธรรมนั้น ฉะนั้น
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า ฐิติภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งการ
ดำรงอยู่
.
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าในฝ่ายคุณวิเศษด้วยสามารถ
แห่งการบรรลุคุณพิเศษในเบื้องบน ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
จึงชื่อว่า วิเสสภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งคุณพิเศษ.
ธรรมใด ย่อมชำแรก ย่อมทำลาย กองโลภะ โทสะ โมหะ
ซึ่งยังไม่เคยจำแรก ไม่เคยทำลาย ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นิพ-
เพธะ - ผู้ทำลาย
คือ อริยมรรค, ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ย่อมจัด
จำแนกเข้าในฝ่ายทำลายนั้น ด้วยสามารถแห่งการตั้งขึ้นแห่งสัญญามน-
สิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา - ความเบื่อหน่าย ฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้น จึงชื่อว่า นิพเพธภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งความเบื่อ
หน่าย
.

คำว่า สพฺเพ สงฺขารา - สังขารทั้งปวง ได้แก่ ธรรมอัน
เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งปวง. ก็ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขตธรรม-
ธรรมอันมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว.
ธรรมเหล่าใดอันปัจจัยทั้งหลาย
ปรุงแต่งขึ้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า สังขาร, สังขารเหล่านั้น
นั่นแหละ ท่านกล่าวให้แปลกออกไปว่า สังขตา เพราะถูกปัจจัยทั้งหลาย
กระทำขึ้น. รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ในอรรถกถาท่าน
กล่าวว่า อภิสังขตสังขาร เพราะเกิดแต่กรรม. แม้อภิสังขตสังขาร
เหล่านั้น ก็ย่อมสงเคราะห์เข้าใน สังขตสังขาร ดุจในคำเป็นต้นว่า
อนิจฺจา วต สงฺขารา - สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ1 ดังนี้.
สังขารทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่กุศลอกุศลเจตนาในภูมิ 3 มี
อวิชชาเป็นปัจจัย มาแล้วในคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษ
บุคคลนี้ ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา ย่อมตกแต่งสังขารอันเป็นบุญ
แต่บาป2
ดังนี้ ชื่อว่า อภิสังขรณกสังขาร.
ความเพียรอันเป็นไปทางกายและทางใจ มาในคำเป็นต้นว่า
คติแห่งอภิสังขารมีอยู่เท่าใด, ก็ไปเท่านั้น เหมือนกับถูกตรึงตั้งอยู่3 ดังนี้
ชื่อว่า ปโยคาภิสังขาร.
1. ที. มหา. 10/147. 2. สํ. นิ. 16/191. 3. อง. ติก. 20/454.

วิตกวิจาร ปรุงแต่งวาจา มาแล้วในคำเป็นต้นว่า ดูก่อนวิสาขะ-
อุบาสกผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อนแต่
นั้น กายสังขารดับ ต่อไปจิตสังขารจึงดับ1 ฉะนั้น จึงชื่อว่า วจีสัง-
ขาร
.
อัสสาสะปัสสาสะ - ลมหายใจเข้าออก ย่อมตกแต่งกาย ฉะนั้น
จึงชื่อว่า กายสังขาร.
สัญญาด้วย เวทนาด้วย ย่อมตกแต่งจิต ฉะนั้น จึงชื่อว่า
จิตตสังขาร. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา สังขตสังขาร.
ชื่อว่า อนิจจา - ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มี.
ชื่อว่า ทุกขา - เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.
คำว่า สพฺเพ ธมฺมา - ธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวรวมเอาพระ-
นิพพานเข้าไว้ด้วย. ชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.
ในเมื่อควรจะกล่าวว่า ทุกฺขสมุทโย ทุกฺขนิโรโธ ดังนี้ ท่าน
ก็ทำให้เป็นลิงควิปลาสเสียว่า ทุกฺขสมุทยํ ทุกฺขนิโรธํ ดังนี้ ดุจใน
คำเป็นต้นว่า อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ดังนี้ แต่พระอริยะเจ้าทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมแทงตลอด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อริย-
สจฺจานิ อริยสัจทั้งหลาย
ดังนี้.
ชื่อว่า อริยสัจ เพราะเป็นสัจจะของพระอริยเจ้าดุจดังที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
1. ม. มู. 12/510.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้แล พระ-
อริยเจ้าทั้งหลายย่อมแทงตลอด, เพราะฉะนั้น
จึงเรียกกว่า อริยสัจ.

ชื่อว่า อริยสัจ เพราะสำเร็จความเป็นอริยะ เพราะตรัสรู้พร้อม
เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งหลายเหล่านั้น ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
พระตถาคตเป็นพระอริยะในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก ฯลฯ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์, เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ1.

และชื่อว่า อริยสัจ เพราะเป็นสัจจะอันประเสริฐ ดุจดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยสัจ 4 เหล่านี้แล ตาม
ความเป็นจริง เพราะฉะนั้นบัณฑิตจึงเรียกว่า
อริยะ2.

คำว่า อริยานิ - อันประเสริฐ คือ ไม่ผิดเพี้ยน, อธิบายว่า
ไม่หลอกลวง. ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
1. สํ. มหา. 19/1708. 2. สํ. มหา. 19/1703.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้แล
เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น,
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ1.

คำว่า สจฺจานิ - สัจจะทั้งหลาย ความว่า หากจะถามว่า
อะไรเป็นอรรถของสัจจะเล่า ? ก็มีคำตอบว่า ธรรมใดไม่วิปริตดุจดังมายา
เป็นธรรมที่ทำให้เข้าใจผิดพลาด ดุจพยับแดดเป็นดุจตัวตนด้วยการ
คาดคะเนเอาของพวกเดียรถีย์หาสภาวะมิได้ ย่อมปรากฏแก่ผู้พิจารณา
ด้วยปัญญาจักษุ, ธรรมเป็นแล เป็นโคจรของอริยญาณ โดยประการ
แห่ง สันติ - ความสงบ และ นิยยาน - การนำออก จากแดนเกิด
แห่งความลำบาก และโดยความเป็นจริงอันไม่วิปริต. ความเป็นจริงคือ
ความแท้ความไม่วิปริตนี้ พึงทราบว่าเป็นอรรถะของสัจจะ ดุจลักษณะ
แห่งไฟ และดุจปกติของโลก. ความพิสดาร ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้
ทุกข์ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น2.

1. สํ. มหา. 19/1707. 2. สํ. มหา. 19/1697.

อีกอย่างหนึ่ง
ทุกข์เป็นของทำให้ลำบาก นอกจากทุกข์ไม่
มีสิ่งใดทำให้ลำบาก สิ่งนี้จึงเรียกว่าสัจจะ เพราะ
นิยามว่าทำให้ลำบาก, เว้นจากสิ่งนั้นเสียแล้ว
ทุกข์ไม่มีมาจากสิ่งอื่น ด้วยเหตุที่สิ่งนั้นเป็นเหตุ
แห่งทุกข์โดยแน่นอน จึงเรียกสิ่งนั้นว่าวิสัตติกา-
คือตัณหาว่าเป็นสัจจะ, ความสงบอื่นจากพระนิพ-
พานไม่มี เพราะฉะนั้น ความดับทุกข์จึงเป็นความ
จริง ด้วยเหตุที่พระนิพพานนั้นเป็นความดับทุกข์
อย่างแน่นอน. ทางนำออกนอกจากอริยมรรคไม่มี
เพราะฉะนั้น อริยมรรคจึงเป็นความจริง เพราะ
เป็นความนำออกอย่างแท้จริง, เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ความเป็นจริงอันไม่
วิปลาสจากความจริง ในธรรมแม้ทั้ง 4 มีทุกข์
เป็นต้น ว่าเป็นอรรถะแห่งสัจจะเป็นพิเศษ
ดังนี้.
ก็ สัจจะ ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถเป็นอเนก คือ
ย่อมปรากฏในอรรถว่า วาจาสัจจะ ได้ในคำเป็นต้นว่า บุคคล
พึงกล่าวความจริง ไม่พึงโกรธ1ดังนี้.
1. ขุ. ธ. 25/27.

ย่อมปรากฏในอรรถว่า วิรติสัจจะ ได้ในคำเป็นต้นว่า และ
สมณพราหมณ์ทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในสัจจะ1 ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า ทิฏฐิสัจจะ ได้ในคำเป็นต้นว่า พวก
มีทิฏฐิต่างกัน ย่อมกล่าวสัจจะว่าสิ่งนี้แหละของจริง พวกนั้นจะเรียกว่า
เป็นผู้ฉลาดเหมือนกันหมดหรืออย่างไร2 ? ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปรมัตถสัจจะ คือนิพพาน และมรรค
ในคำเป็นต้นว่า สัจจะมีเพียงอย่างเดียว สัจจะที่ 2 ไม่มี ซึ่งเป็นเหตุ
ให้ผู้รู้โต้เถียงกัน3.
ย่อมปรากฏใน อริยสัจ ในคำเป็นต้นว่า สัจจะ 4 เป็นกุศล
เท่าไร ? เป็นอกุศลเท่าไร4 ? ดังนี้. แม้ในที่นี้ สัจจ ศัพท์นี้นั้น ย่อมเป็น
ไปในอรรถว่า อริยสัจ ฉะนี้แล.
อรรถกถาพรรณนาแห่งวิสัชนุทเทส
อันท่านสงเคราะห์แล้วในนิทเทสวาระ จบ

1. ขุ. ชา. 28/358. 2.-3. ขุ. สุ. 25/419. 4. ขุ. ป. 31/551.

อภิญเญยยนิทเทส


[2] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็น
เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็น
สุตมยญาณอย่างไร ?
ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
ธรรม 2 ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ 2
ธรรม 3 ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ 3
ธรรม 4 ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ 4
ธรรม 5 ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายนะ 5
ธรรม 6 ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ 6
ธรรม 7 ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ - เหตุที่พระขีณาสพนิพ-
พานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป 7